รูปแบบของโครงการ ของ สถานีสามัคคี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • คานรองรับทางวิ่ง (Guideway Beam) เป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ควบคู่กับการใช้เหล็กหล่อในบางช่วง มีความกว้าง 69 เซนติเมตร สูง 2 เมตร มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพ่วงได้ 4-7 คันต่อขบวน ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถตั้งอยู่บริเวณถนนร่มเกล้า ใกล้กับแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ในพื้นที่เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีปลายทาง (มีนบุรี) ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สามารถจอดรถได้สูงสุด 3,000 คัน

สถานี

สถานีตลาดมีนบุรี

มีสถานีทั้งหมด 32 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร ออกแบบให้รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 7 ตู้ต่อหนึ่งขบวน โดยมีรูปแบบชานชาลาถึงสี่รูปแบบในโครงการเดียว ดังต่อไปนี้

  • ชานชาลาด้านข้าง ความสูง 3 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาพื้นฐานของโครงการ มีทั้งหมด 26 สถานี (รวมสถานีส่วนต่อขยาย)
  • ชานชาลาด้านข้าง ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาที่ลดความสูงเพื่อหลบหลีกรางรถไฟฟ้า หรือสิ่งกีดขวาง มีทั้งหมด 2 สถานี ได้แก่ สถานีหลักสี่ และสถานีมีนบุรี
  • ชานชาลาเกาะกลาง ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รองรับผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก มีทั้งหมด 2 สถานี ได้แก่ สถานีศรีรัช และสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี
  • ชานชาลาด้านข้างผสมเกาะกลาง ความสูง 3 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาขนาดใหญ่เพื่อรองรับการเปลี่ยนสายระหว่างสายหลักและสายรอง มีทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานีเมืองทองธานี
  • ชานชาลาด้านข้าง แบบแยกอาคาร ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาที่ลดความสูงเพื่อหลบหลีกรางรถไฟฟ้า และสิ่งกีดขวาง มีทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตัวสถานีออกแบบให้มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half-height) ทุกสถานี หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

ขบวนรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เลือกใช้รถไฟฟ้ารุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300 จากอัลสตอม (บอมบาร์ดิเอร์ เดิม) ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น อัลสตอม ทรานสปอร์เทชัน ซิสเท็ม (CRRC-PATS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากรางที่ 3 ที่ติดตั้งด้านข้างคานรองรับทางวิ่งเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น เอ็กซ์ เมโทร จากมิชลิน ประเทศไทย สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ

ระบบในการเดินรถ

ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ (Driverless Operation)

ใกล้เคียง